วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โครงงานคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

โครงงานคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จัดทำโดย
1. เด็กหญิง บงกช ภูมิพันธ์
2. เด็กหญิงขนิษฐา อินทร์นอก
3. เด็กหญิงกาญจนา โพธิ์รัตน์
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

คุณครูที่ปรึกษา
นายธนดล โสธิฤทธิ์
ปีการศึกษา 2551

โรงเรียนบ้านโคกสามัคคี
อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2

ที่มาและความสำคัญ

ด้วย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของคนไทย สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและทางด้านคุณธรรม ถ้าใช้หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อก่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข คณะผู้จัดทำจึงได้เรียนปรึกษากับคุณครูผู้สอนจัดทำโครงงานนี้ขึ้น ซึ่งในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้จัดในรูปแบบของโครงงานการประดิษฐ์ กล่าวคือเป็นการดำเนินงานตามกิจกรรมของใบงานเรื่อง การทำน้ำยาล้างจานจากพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อนำผลผลิตที่ได้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในโอกาสต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับส่วนผสมของน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร
2. เพื่อศึกษาพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาล้างจาน
3. เพื่อศึกษาขั้นตอนวิธีการทำน้ำยาล้างจาน และสามารถทำน้ำยาล้างจานไว้ใช้เองได้
4. เป็นการปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ใบงานเรื่อง การทำน้ำยาล้างจานจากพืชสมุนไพร
วัสดุอุปกรณ์

1. เปลือกสับปะรด 3 กก.
2. เอ็น 70 ( N 70 ) 1 กก.
3. มะนาว (หรือใช้มะกรูดแทนก็ได้) 15 ลูก
4. เกลือแกง 4 ขีด
5. น้ำเปล่า 15 ลิตร

ขั้นตอนและวิธีทำ
1. นำเปลือกสับปะรดและมะนาวไปต้มกับน้ำยกลงปล่อยให้เย็น(ส่วนผสมทุกอย่างจะต้องต้มให้สุก)
2. กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วพักไว้ให้เย็น
3. กวน เอ็น 70 ( N 70 ) และเกลือแกงจนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน
4. เติมน้ำสับปะรดและมะนาว(ที่พักไว้ให้เย็นแล้ว) เติมทีละนิด แล้วกวนไปเรื่อยๆ (เวลากวนให้กวนไปทางเดียวกันตลอดเพื่อไม่ให้เกิดฟองมาก) เมื่อน้ำยาผสมกันดีแล้ว พักไว้ 5 – 8 ชั่วโมง
5. กรอกน้ำยาใส่ขวดหรือภาชนะที่สะอาดและแห้ง นำไปใช้งานได้

คุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1. ความประหยัด คนเราทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวยก็ตามหากไม่รู้จักการประหยัด อดออมใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยแล้ว มักจะเกิดปัญหาติดตามมาอย่างล้นเหลือ ทั้งในด้านทรัพย์สินเงินทอง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด เราต้องปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ ให้ตระหนักถึงความประหยัด รู้จักอดออม วางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม ดังนั้นโครงงานนี้จึงเป็นโครงงานที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการที่จะซื้อหาน้ำยาล้างจานที่มีราคาแพง กลับจึงต้องหาวิธีการทำขึ้นมาใช้เอง
2. ขยันหมั่นเพียร เราจะต้องมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพจะต้องมีจิตสำนึกในการแวงหาความรู้ มีความขยัน และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
3. มีความสุจริต และความกตัญญู ควรปฏิบัติตนให้ประจักษ์ในเรื่องของความ
กตัญญูต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดิน และต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะส่วนรวม ทรงเตือนให้ยึดสิ่งนี้ไว้เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่ง
4. พึ่งตนเอง การพึ่งตนเอง หรือเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของ
ตนเองให้เรียบง่ายธรรมดา และเดินสายกลาง เป็นทฤษฎีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย
5. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน คนเราทุกควรรู้จักการให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีใครเลยที่จะได้ทุกสิ่งอย่างมา โดยไม่เคยให้คนอื่นมาก่อน ดังคำสุภาษิตที่ว่า “ ยิ่งให้ไป ยิ่งได้คืนมา “

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในทุกด้าน สมควรที่จะดำเนินรอยตามพระยุคลบาท หากประชาชนทุกสาขาอาชีพ และคนไทยทุกคนได้ทบทวน ยึดถือ และน้อมนำไปปฏิบัติดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติแล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยดี สังคมจะสงบสุข และประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน

ผลการปฏิบัติงานตามโครงงาน

1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับส่วนผสมของน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร
2. สามารถหาพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนมาทำเป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างจาน
3. มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการทำน้ำยาล้างจานและสามารถทำน้ำยาล้างจานไว้ใช้เอง
4. มีความตระหนักในคุณธรรมด้านความประหยัด ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต การพึ่งพาตนเอง และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต

ผลการอภิปรายและสรุปโครงงาน

1. โครงงานการทำน้ำยาล้างจานจากพืชสมุนไพรนี้ เป็นการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินการทั้ง
ยังเป็นการดำเนินรอยตามเบื้องตาม พระยุคลบาทอีกด้วย
2.การทำน้ำยาล้างจานขึ้นใช้เองถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งทั้งยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรมให้กับตนเองไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมด้านความ ขยัน ความอดทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของความอยู่รอดในสภาวะเหตุการณ์ที่สังคมมีแต่ปัญหา ความวุ่นวายนานัปการ
3. พืชสมุนไพรที่เราสามารถนำมาเป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างจานนั้นจะต้องมีรสเปรี้ยวเช่น มะนาว มะกรูด สับปะรด เป็นต้น

ที่มา
http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=3338&bcat_id=16

พอเพียง..รากฐานสำคัญของชีวิต

พอเพียง..รากฐานสำคัญของชีวิต

เพลง King of Kings

เพลง King of Kings

เพลงพ่อแห่งแผ่นดิน

เพลงพ่อแห่งแผ่นดิน

เพลงรูปที่มีทุกบ้าน

เพลงรูปที่มีทุกบ้าน

ต้นไม้ของพ่อ

ของขวัญจากก้อนดิน /ธงไชย แมคอินไตย

ของขวัญจากก้อนดิน /ธงไชย แมคอินไตย

เพลงอยู่อย่างพอเพียง

ดาวน์โหลด เกมพอเพียง (Father's farm)

ด้วยในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา สาขาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีแนวคิดในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาทำเป็นสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของเกม โดยใช้ชื่อว่า "เกมพอเพียง" หรือ “ Father's farm

ตัวอย่างเกม



ดาวน์โหลดเกม
http://fatherfarm.thaixna.com/dowload.html

เกมส์เกษตรกรไทยใช้ชีวิตพอเพียง



เกมส์เกษตรกรไทยใช้ชีวิตพอเพียง เกมส์นี้เราจะต้องลงแปลงเกษตร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมีภารกิจในแต่ละวันให้ทำ วิธีการเล่นศึกษาได้จากในตัวเกมส์เลย เป็นเกมส์ฝีมือนักศึกษาไทย ที่ยอดเยี่ยมมากเกมส์หนึ่ง

เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา

เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา

ปลูกป่าในใจคนก่อน

จากการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 แห่งทั่ว ประเทศ วันที่ 19 ส.ค.(พ.ศ.?) ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานในพิธีได้ แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจ พอเพียงกับการศึกษา”

ขอนำบางช่วง บางตอนของการปาฐกถา เพื่อประโยชน์ต่อ นักเรียน ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถาน ศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป


“เศรษฐกิจพอเพียง” สมดุลแห่งชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว

แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง

“คุณธรรม” รากเศรษฐกิจพอเพียง

ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ empowerment คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออม ไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม

โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่

3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย

องค์ประกอบของความ พอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ
2. ต้องมีเหตุผลอธิบายได้
3. ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอกภายใน

เรามีเงินงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง เรา ต้องการจะทำห้องแล็บ คอมพิวเตอร์ จะลงทุนเท่าไหร่ดี คำถามแรกคือ มีเหตุผล ไหมที่จะต้องทำคอมพิวเตอร์ใหม่ ถ้ามีก็โอเค แล้วเราจะใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ ถึงจะพอประมาณ และจะเหลืออีกเท่าไหร่ ส่วนความพอประมาณ ก็คือความพอดี พอเหมาะต่อความจำเป็น พอควรแก่อัตภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมี พระราชดำรัสว่า “พอเพียงของฉันคือพอควรแก่อัตภาพ ถ้าเขาเป็นเศรษฐีแสน ล้าน เขาจะซื้อกระเป๋าถือ 30,000 บาท เรื่องของเขา แต่เรามีเงิน 12,000 บาท แล้วเราจะไปซื้อกระเป๋า 3,000 บาท อันนี้ไม่พอควรแก่อัตภาพ แล้ว”


สร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน

ระบบภูมิคุ้มกันทางด้านวัตถุ ด้านธุรกิจ ฐานะการเงิน ภูมิคุ้มกันด้านสังคมครอบครัวเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง หมายความว่าภูมิคุ้มกันเราดี ใครจะเอายาเสพติดมาขาย หน้า โรงเรียน นักเรียนเราก็ไม่รับ เพราะว่าเราสร้างภูมิคุ้มกันสังคมตรงนี้ไว้ดีมาก เรา สร้างสำนึกไว้ดีมากให้แก่นักเรียนทุกคนตลอดเวลา
อันนี้คือภูมิคุ้มกัน ต่ออบายมุขทั้งหลาย ภูมิคุ้มกันต่อเหตุร้ายทั้งหลาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของอบายมุข มีความรักสามัคคีกันในโรงเรียน เกื้อกูลกัน ภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน คือ มีความรู้วิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีภูเก็ต เป็นตัวอย่างของการนำ เอาพฤกษศาสตร์เข้าไปในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิ คุ้มกัน หรือความเข้มแข็งทางด้านสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาถ่ายทอดทางด้านวิชาการ ได้

ผอ.โรงเรียนต้องดูแลตั้งแต่ห้องน้ำ

เรื่องสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยาก ฝากไว้ 2 เรื่อง คือ
1. เรื่องความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม โรงเรียน ในอดีตเคยมีข่าวเรื่องกำแพงพังทับนักเรียนตาย บาง โรงเรียนเลี้ยงจระเข้ไว้แล้วผู้ปกครองไปฟ้องศาลก็มีมาแล้ว เราต้องนึกถึงเรื่อง ความปลอดภัยในโรงเรียนก่อน
2. เรื่องความสะอาด และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม คนเป็น ผอ.โรงเรียน มีหน้าที่ต้องเดิน ดูโรงเรียนอย่างน้อยวันละ 2 รอบ ดูห้องน้ำ ดูรั้วโรงเรียนตรงไหนมันหัก มันพัง มัน ผุ ต้นไม้ต้นไหนจะหักมาทับนักเรียนหรือไม่ รวมถึงความปลอดภัยในส่วนของบ่อ น้ำ สระน้ำ เพราะเด็กไทยจมน้ำตายเป็นหนึ่งใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก ไทยในทุกปี ขณะที่ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ทุกโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญต่อประเทศ ชาติอย่างมาก จะต้องทำให้เด็กทุกรุ่นศรัทธาและมั่นคงในวัฒนธรรมไทย ในขณะ เดียวกันต้องเข้าใจและเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมอื่น เพื่อความเป็นไทย และความเป็น คนไทยจะได้ยั่งยืน


3 เงื่อนไขหัวใจหลัก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสถึง แนวทางการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผลดี ว่ามี 3 เงื่อนไข คือ
1. หลักวิชา โดย พระองค์ท่านจะทำอะไร ทรงอาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทำตามอารมณ์ ไม่ได้ทำ ตามกระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลักวิชาเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน การทำอะไรจะต้องทำวิจัยให้แน่ก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ ให้ราชการนำไปเผยแพร่ต่อ แต่ของประเทศเราไม่ จะทำอะไรทุกจังหวัดทำเหมือน กัน 40,000 โรงเรียนทำเหมือนกันซึ่งไม่ใช่
2. เงื่อนไข คุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต 3. เงื่อนไขในการดำเนินชีวิต ต้องรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน เรื่อง ความเพียร


“ยูเอ็น” แจกเศรษฐกิจพอ เพียง 135 ประเทศ

ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับ จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. ให้เกิดความสมดุล รองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชา ชาติ (ยูเอ็น) เห็นประโยชน์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมหาศาล ซึ่งองค์การ สหประชาชาติจะนำไปเผยแพร่ทั่วโลก ผ่านองค์กร ยูเอ็นดีพี เอเชียแปซิฟิก สำหรับปี 2550 จะมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้ต่างประเทศให้ เข้าใจให้ได้ พร้อมทั้งมีการพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทยเผยแพร่ในประเทศ ไทย ให้พวกเราที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ ส่วนภาษาอังกฤษ จะนำไปเผยแพร่ใน 135 ประเทศ เพื่อใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปลดผลกระทบอย่างรุนแรง ของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำลายอะไรต่ออะไรทั่วโลกอยู่ในขณะนี้



สร้างเด็กเน้นดี-เก่ง

สำหรับผลข้อ 2. การระเบิดจาก ข้างใน คือ เวลาจะไปพัฒนาท้องถิ่นไหน ต้องทำให้ประชาชนที่นั่นเก่ง ไม่ใช่เอา ความเจริญจากข้างนอกไปพอก ในโรงเรียนก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะทำให้เปิดจากภาย ใน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนเป็นเทวดาให้ได้ คือทำให้เป็นคนดี คนเก่ง การจะไป พัฒนาโรงเรียน แต่เด็กจน ไม่มีอาหารกลางวันกิน เด็กจะเรียนได้อย่างไร ถามว่า เด็กที่หิวมากๆ จะเรียนรู้ เรื่องหรือ เพราะฉะนั้นถ้าจะพัฒนาโรงเรียนต้องถามก่อน ว่าเด็กสุขภาพเป็นอย่างไร การกิน การอยู่ พอไหม มีความทุกข์หรือเปล่า การจะ พัฒนาอะไรต้องเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนเข้ามาก่อน ได้แก่ สุขภาพ สาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สิ่งจำเป็นในการประกอบ อาชีพตามมา

รู้-รัก-สามัคคี

วิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คือ ทำให้ง่าย อย่าทำให้ซับซ้อน มี นักบริหารบางคนทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่มีนักบริหารหลายคน ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก คนบางคน มองทุกปัญหามีทางออก แต่ก็มีบางคน มองทุกทางออกมีปัญหา ไม่ติดตำรา ใช้อธรรม ปราบอธรรม ปลูกป่าในใจคนก่อน และต้องมุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
การมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร การบริหารรวมที่จุดเดียว ทรงมีพระราช ดำริให้บริหารเป็นการบริการด้วยและบริหารที่จุดเดียว บริการที่จุดเดียว บริหาร แบบเบ็ดเสร็จ ทั้ง 2 ระดับทั้งระดับบริหาร และระดับบริการ
สุดท้ายคือ รู้ รักสามัคคี ส่วนมากเราจะพิมพ์ติดกัน 3 ตัว แต่ความจริงความหมายมันแยกกัน คือ
รู้- การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น เรา ต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก- เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรัก

การพิจารณาที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องเกิดฉันทะในนั้น พอรู้หมด รู้วิธีแก้ปัญหาแล้วท้อ ฝืนทำก็ไม่ได้งาน แต่เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ต้องสร้าง ฉันทะ สามัคคี-หลังจากนั้น แล้วพอจะลงมือทำ
การลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องทำร่วมกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลัง จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ด้วยดี.


ที่มา
http://www.eschool.su.ac.th/admin/articleadm.php?no=40&code=y

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง


มีหลักพิจารณา ดังนี้


กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา


คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ที่มา
http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm

เศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็นอย่างไร

เศรษฐกิจแบบพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ "พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้


"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"


ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ


ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก


เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”

เศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม

การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

“…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

“….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า

“….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

" การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "


"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

ที่มา
http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php